RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

ใช้เมาส์ชี้ที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่



มะลิ

ชื่อเครื่องยา: มะลิ

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา :

ได้จาก : ดอกมะลิลา

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา : มะลิลา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum sambac Ait.

ชื่อพ้อง :

ชื่อวงศ์ : Oleaceae


“เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านมาบหม้อ”

Museum House of Handy Craft Weaving

สรรพคุณ


บัญชียา

ตำรายาไทย

ตำรายาไทย (ดอกมะลิ) จัดเป็นยาในพิกัดเกสร ทั้ง 5, ทั้ง 7 และทั้ง 9 แต่ใช้ทั้งดอก เมื่อพิจารณาจากรสของยา ดอกมะลิถูกจัดเป็น (ยารสหอมเย็น) จึงมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะจะแสลงกับโรคลมจุกเสียด แน่น ดอกมะลิลา มีสรรพคุณ ที่ระบุในตำรายาไทย ใช้บำรุงหัวใจ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ทำจิตใจให้ชุ่มชื่น บำรุงครรภ์รักษา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เจ็บตา เนื่องจากมีรสฝาดสมาน จึงช่วยสมานท้อง แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้แผลเรื้อรัง ผิวหนังเป็นผื่นคัน น้ำแช่ดอกสดบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น นำดอกสดตำใส่พิมเสน สุมหัวเด็กแก้ซาง แก้ตัวร้อน แก้หวัด ในตำรายาไทย มีการนำดอกมะลิ ผสมเข้าในตำรับยาหอม ที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำจิตใจให้ชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน ตัวอย่างเช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ยาหอมทิพโอสถ และยาหอมอินทจักร์ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นดอกมะลิ/ทางสุคนธบำบัด น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ใช้ในการกระตุ้นระบบประสาทสำหรับผู้ที่มีภาวะอ่อนล้าทางจิตใจ ง่วง เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ช่วยปรับอารมณ์และสภาพสมดุลของจิตใจให้ดีขึ้น บรรเทาอาการปวดศีรษะในผู้ที่มีความเครียด ความกลัว บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง