RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

ใช้เมาส์ชี้ที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่



กะเพราแดง

ชื่อเครื่องยา: กะเพราแดง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา :

ได้จาก : ใบ/ ยอด/ ราก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา : กะเพราแดง

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) : กอมก้อ/ กอมก้อดง (เชียงใหม่)/ กะเพรา/ กะเพราขน/ กะเพราขาว/ กะเพราแดง (ภาคกลาง)/ ห่อกวอซู ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)/ อิ่มคิมหลำ (ฉาน แม่ฮ่องสอน)/ อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum tenuiflorum L.

ชื่อพ้อง : Geniosporum tenuiflorum (L.) Merr./ Lumnitzera tenuiflora (L.) Spreng./ Moschosma tenuiflorum (L.) Heynh./ Ocimum anisodorum F.Muell./ Ocimum caryophyllinum F.Muell./ Ocimum hirsutum Benth./ Ocimum inodorum Burm.f./ Ocimum monachorum L./ Ocimum sanctum L./ Ocimum scutellarioides Willd. ex Benth./ Ocimum subserratum B.Heyne ex Hook.f./ Ocimum tomentosum Lam./ Plectranthus monachorum

ชื่อวงศ์ : Labiatae


“เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านมาบหม้อ”

Museum House of Handy Craft Weaving

สรรพคุณ


บัญชียา

บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ใบกะเพรา ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ (ยาประสะมะแว้ง) มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ ตำรับ ยาเลือดงาม มีส่วนประกอบของรากและใบกะเพราร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

ตำรายาไทย

ตำรายาไทย: ใช้ใบและยอดกะเพราะ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้ ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน /ตำรายาไทยระบุว่า (กะเพราะทั้ง 2) (กะเพราะขาว-กะเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า / โบราณใช้น้ำคั้นใบกะเพรา กินเพื่อขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ใบกะเพราะทำเป็นยาชง ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ และขับลมในเด็กอ่อน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง