RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

ใช้เมาส์ชี้ที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่



กระวานไทย

ชื่อเครื่องยา: กระวานไทย

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา :

ได้จาก : ผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี / เมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา : กระวานไทย

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) : กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) / ข่าโคม / ข่าโคก / หมากเนิ้ง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) / ปล้าก้อ (ปัตตานี) / มะอี้ (เหนือ) / กระวานดำ / กระวานแดง / กระวานโพธิสัตว์ / กระวานจันทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum krervanh Pierre ex Gagnep

ชื่อพ้อง : Amomum verum

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae


“เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านมาบหม้อ”

Museum House of Handy Craft Weaving

สรรพคุณ


บัญชียา

บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ผลกระวานไทย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ตำรับยา (ยาธาตุบรรจบ) ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ

ตำรายาไทย

ผลแก่ : รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ใช้แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม และแก้แน่นจุกเสียด มีฤทธิ์ขับลม และบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ บำรุงกำลัง ขับโลหิต แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ลมในลำไส้ เจริญอาหาร รักษาโรครำมะนาด แก้ลมสันนิบาต แก้สะอึก แก้อัมพาตรักษาอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เมล็ด แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ขับลม นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง (คลื่นไส้อาเจียน) เช่น มะขามแขก

แหล่งข้อมูลอ้างอิง