RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

ใช้เมาส์ชี้ที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่



ขมิ้นอ้อย

ชื่อเครื่องยา: ขมิ้นอ้อย

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา :

ได้จาก : เหง้า

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา : ขมิ้นอ้อย

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) : ขมิ้นอ้อย (กลาง)/ขมิ้นขึ้น (เหนือ)/แฮ้วดำ (เชียงใหม่)/ ละเมียด (เขมร)/ ขมิ้นเจดีย์/ ว่านเหลือง/ ขมิ้นหัวขึ้น /สากกะเบือละว้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe

ชื่อพ้อง : Amomum latifolium Lam./ Amomum zedoaria Christm./ Costus luteus Blanco /Costus nigricans Blanco/ Curcuma malabarica Velay./ Amalraj & Mural./ Curcuma pallida Lour./ Curcuma raktakanta Mangaly & M.Sabu/ Erndlia zerumbet Giseke/ Roscoea nigrociliata

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae


“เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านมาบหม้อ”

Museum House of Handy Craft Weaving

สรรพคุณ


บัญชียา

บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ขมิ้นอ้อย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ (ยาประสะมะแว้ง) มีสรรพคุณของตำรับคือใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ ตำรับ (ยาแก้ลมอัมพฤกษ์) มีส่วนประกอบของขมิ้นอ้อยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา ตำรับ ยาประสะไพล มีส่วนประกอบของเหง้าขมิ้นอ้อยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณรักษาระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร ตำรับ )ยาเหลืองปิดสมุทร) มีส่วนประกอบของขมิ้นอ้อย ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

ตำรายาไทย

ตำรายาไทย เหง้า รสฝาดเฝื่อน แก้ไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เสมหะ แก้อาเจียน แก้หนองใน สมานลำไส้ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ใช้ภายนอกเอาเหง้าโขลกละเอียด พอกแก้ฟกช้ำบวม แก้เคล็ด อักเสบ แก้พิษโลหิต และบรรเทาอาการปวด รักษาอาการเลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ แก้ระดูขาว ขับประจำเดือน เหง้าผสมใบเทียนกิ่ง และเกลือเล็กน้อยตำละเอียด พอกหุ้มเล็บ เป็นยากันเล็บถอด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง