RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

ใช้เมาส์ชี้ที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่



โกฐก้านพร้าว

ชื่อเครื่องยา: โกฐก้านพร้าว

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา :

ได้จาก : เหง้าแห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา :

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) : กะฎุกะ/ กฏุโรหินี/ กฏุกะโรหินี/ โอ่วไน้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D.Y.Hong

ชื่อพ้อง : Picrorhiza scrophulariiflora

ชื่อวงศ์ : Plantaginaceae


“เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านมาบหม้อ”

Museum House of Handy Craft Weaving

สรรพคุณ


บัญชียา

บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้โกฐก้านพร้าวในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ)ยาหอมเทพจิตร) และตำรับ )ยาหอมนวโกฐ) มีส่วนประกอบของโกฐก้านพร้าวอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง และ (ยาธาตุบรรจบ) ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ/ โกฐก้านพร้าวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของป่าหิมพานต์จากแคชเมียร์ถึงแคว้นสิกขิมของประเทศอินเดีย มีการปลูกที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เขตปกครองตนเองทิเบต เนปาล และศรีลังกา และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า (พิกัดโกฐ)โกฐก้านพร้าว จัดอยู่ใน โกฐทั้งเจ็ด (สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ)/ เครื่องยา(พิกัดโกฐ) ประกอบด้วย (พิกัดโกฐทั้ง 5) ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา (พิกัดโกฐทั้ง 7) (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) (พิกัดโกฐทั้ง 9) (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก

ตำรายาไทย

ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทย: ใช้แก้ไข้เรื้อรัง และแก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก แก้หอบ แก้เสมหะเป็นพิษ โกศก้านพร้าวเป็นโกศชนิดหนึ่งในพิกัดโกศทั้ง 7 และโกศทั้ง 9 ตำราอายุรเวทของอินเดียกล่าวว่า ถ้าใช้ในขนาดต่ำ ๆ จะมีสรรพคุณบำรุงธาตุทำให้เจริญอาหาร และเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ถ้าใช้มากจะเป็นยาบำรุง และเชื่อกันว่าเป็นยาแก้ไข้จับสั่น และเป็นยาขับน้ำดี ราก แก้ไข้ แก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก แก้สะอึก แก้หอบเพราะเสมหะเป็นพิษ แก้อาเจียน แก้ลม แก้กำเดา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง