RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

วรรณกรรมพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน

ตำนานเจ้าแม่เขาสามมุก


ชื่อเรียกท้องถิ่น
ตำนานเจ้าแม่เขาสมมุก เจ้าแม่สาวมุก เจ้าแม่เขาสามมุก หรือ ตำนานเจ้าพ่อแสน

ตำนานเจ้าแม่เขาสามมุก เป็นตำนานประจำถิ่นเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณเนินเขาขนาดเล็กที่ตำบลอ่างศิลากับพื้นที่บริเวณหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยในท้องถิ่นมักเรียกว่า ตำนานเจ้าแม่เขาสมมุก เจ้าแม่สาวมุก เจ้าแม่เขาสามมุก หรือ ตำนานเจ้าพ่อแสน เจ้าพ่อบางแสน แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า ตำนานเจ้าแม่เขาสามมุก
ปัจจุบัน ตำนานเจ้าแม่เขาสามมุก ดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากมีศาลสำหรับเป็นที่สักการะบูชา ศาลเจ้าแม่เขาสามมุกนั้น ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ศาลคือ ศาลเจ้าแม่เขาสามมุก (ไทย) และศาลเจ้าแม่เขาสามมุก (จีน) ทั้งนี้ศาลไทยเป็นศาลเก่าแก่ที่ใช้ตำนานประจำถิ่นที่เล่าเรื่องความรักของสาวมุกกับนายแสนในการเผยแพร่ประวัติเจ้าแม่เขาสามมุก ส่วนศาลจีนเป็นศาลเก่าแก่ของชุมชนคนจีนที่ใช้เรื่อง “เจ้าแม่ทับทิม” ในการเผยแพร่ประวัติเจ้าแม่เขาสามมุก เนื่องจากชาวจีนที่อ่างศิลาได้อัญเชิญกระถางธูปไฮตังม่าติดเรือมาจากเมืองจีน เมื่อมาตั้งรกรากใหม่ที่ชลบุรี จึงได้ตั้งศาลไฮตังม่าข้างศาลเจ้าแม่เขาสามมุกเดิม และใช้ชื่อศาลว่า ศาลเจ้าแม่เขาสามมุก (จีน) มาจนถึงทุกวันนี้

ภาพประกอบ

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

เรื่องย่อ ครั้งหนึ่งที่บ้านอ่างหิน (ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี) เป็นที่อาศัยของครอบครัวยายกับหลานคู่หนึ่ง หลานสาวมีชื่อว่า “มุก” หรือ “สาวมุก” มุกเป็นเด็กกำพร้าเต็มอยู่ที่บ้านบางปลาสร้อย (ตัวเมืองจังหวัดชลบุรีใน ปัจจุบัน) เมื่อพ่อแม่ตาย ยายจึงนำมุกมาเลี้ยงจนโตเป็นสาว มุกมักมานั่งเล่นที่เชิงเขาเตี้ยๆ ที่อ่างศิลาเป็นประจำ วันหนึ่งพบว่าวตัวหนึ่งขาดลอยมาตกอยู่ภายหลังเจ้าของว่าว คือ นายแสน ลูกชายของกำนันประจำตำบลนี้วิ่งตาม ว่าวมาจึงทำให้มาพบกับมุกทั้งสองจึงได้พบกันและแสนได้มอบว่าวตัวนั้นให้แก่มุกเป็นสิ่งแทนตัว ภายหลังทั้งสอง ได้นัดพบกันอีกหลายครั้งจนเกิดเป็นความรักกระทั่งทั้งสองได้ให้สัตย์สาบานที่หน้าเชิงเขานี้ว่าจะรักกันชั่วนิรัน หากผิดคำสาบานจะกระโดดหน้าผาแห่งนี้ตายตามกัน ต่อมาเมื่อพ่อของแสนทราบเรื่องจึงไม่พอใจมาก กีดกันไม่ให้ทั้งสองพบกัน และได้ตกลงให้แสนแต่งงานกับ ลูกสาวตนทำโป๊ะที่ใต้สู่ขอไว้ ภายหลังเมื่อมุกทราบเรื่องและเห็นว่าเป็นเรื่องจริง จึงวิ่งไปที่หน้าผาเพื่อกระโดดหน้าผา ตายตามคำสัตย์สาบาน เมื่อแสนเห็นดังนั้นจึงวิ่งตามไปและกระโดดหน้าผาตายตามคำสัตย์สาบานเช่นกัน ส่วนกำนัน ภายหลังรู้สึกสำนึกผิดจึงนำเครื่องถ้วยชามต่างๆ มาไว้ในถ้ำบริเวณเชิงเขา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความรักต่อมาชาวบ้านจึงเรียกภูเขาที่มุกกระโดดหน้าผาตายว่า “เขาสาวมุก”เพื่อระลึกถึงมุก ผู้มั่นคงต่อความรัก ภายหลังจึงเพี้ยนเป็น “สามมุก” ในที่สุด และบริเวณถ้ำนั้นเชื่อว่าเป็นถ้ำลับแลมีเครื่องถ้วยชามต่างๆ ที่กำนันตา ของแสนนำมาไว้ เมื่อชาวบ้านมีงานบุญสามารถหยิบยืมไปใช้ได้ ซึ่งภายหลังถ้ำนี้ให้ปิดปากถ้ำไปแล้วเมื่อคราวก่อสร้าง ถนนสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่วนหาตที่พบศพหญิงชายทั้งสองหลังจากกระโดดหน้าผาตายนั้น ชาวบ้าน เรียกกันว่า “หาดบางแสน” เพื่อระลึกถึงนายแสน

ตำนานเจ้าแม่เขาสามมุก เป็นตำนานที่แพร่หลายอยู่ทั้งในจังหวัดชลบุรี และบริเวณชุมชนชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทย เชื่อกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของชาวประมงและผู้เดินทางทางทะเลในภาคตะวันออกมานับแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏหลักฐานในนิราศเมืองแกลงที่แต่งเมื่อราว พ.ศ.2349 ของสุนทรภู่ ที่กล่าวถึงเจ้าแม่เขาสามมุกไว้ด้วยและเมื่อถึงเทศกาลสำคัญต่างๆ อาทิ ตรุษจีน สารทจีน ชาวบ้านที่นับถือก็จะนำเครื่องเซ่นไหว้และว่าว มาเป็นเครื่องบูชากราบไหว้ที่ศาลเจ้าแม่เขาสามมุกด้วยนอกจากนี้ก่อนที่ชาวประมงจะออกเดินเรือชาวบ้านจะนำประทัดมาจุดบูชาเพื่อขอให้ช่วยในการทำมาหากินและแคล้วคลาดจากลมพายุ

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, พิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช 2556, 1, สํานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2556, หน้า 72-73.