RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

อะไรคือ “ลูกไม้บอนสี” ต้นไม้ที่มีเพียง 1 เดียวในโลก ?!

คุณกำลังอ่าน
อะไรคือ “ลูกไม้บอนสี” ต้นไม้ที่มีเพียง 1 เดียวในโลก ?!

เผยแพร่ : 24/11/2566

จำนวนผู้เข้าชม : 2,002

ช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกเลยว่าวงการ “บอนสี” ระบาดหนัก อย่างถึงที่สุด เพราะราคาค่าตัวน้องแต่ละต้นนั้น แพงทะลุเพดาน เฉียดพันกันแทบทุกต้น จนทำให้คนรักต้นไม้บางส่วนกระเป๋าแห้งไปตาม ๆ กัน

จึงไม่แปลกที่จะมีคนบางกลุ่ม หันไปสนใจ “ลูกไม้บอนสี” ที่มีราคาค่าตัวถูกกว่า แถมยังมีต้นเดียว เป็นของเราเพียงคนเดียวในโลกอีกด้วย อยากรู้แล้วใช่มั้ย ว่าลูกไม้บอนสีที่ว่านั้นคืออะไร และต่างจากบอนสีปกติยังไง ก็ตามไปอ่านกันเลย


ลูกไม้ VS บอนสี ต่างกันยังไง ?

สงสัยกันใช่มั้ย ว่าบอนสี ต่างกับลูกไม้ยังไง ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า บอนสี คือไม้ประดับที่ถูกยกให้เป็นราชินีแห่งไม้ใบ ด้วยลวดลาย และสีสันที่สวยน่ามอง เป็นพืชในตระกูล คาลาเดียม(Caladium) วงศ์ Araceae ที่มีหัวสะสมอาหารใต้ดินคล้ายกับมันฝรั่ง

บอนสี มีวิธีขยายพันธุ์หลัก ๆ อยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือแยกหน่อ, ผ่าหัว, ผสมเกสร และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่ความพิเศษของพืชชนิดนี้คือ ถ้าคุณขยายพันธุ์โดยการผสมเกสร จะทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ที่เราเรียกกันว่า “ลูกไม้” นั่นเอง

ดังนั้น ถ้าอยากขยายพันธุ์ให้ได้บอนสีแบบต้นเดิม ต้องใช้การแยกหน่อ และผ่าหัวเท่านั้น ถึงจะสามารถคงสายพันธุ์แบบนี้ต่อไป

ลูกไม้ กลายเป็นบอนสีได้มั้ย ?

แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากให้ลูกไม้ของตัวเอง กลายเป็นบอนสีสายพันธุ์ใหม่ ก็มีวิธีการดังนี้ อย่างแรกคือ การคัดเลือกต้นบอนสีลักษณะดีที่เกิดจากการเพาะเมล็ด  จากนั้นต้นที่ผ่านการคัดเลือก จะถูกนำมาผ่าหัวแล้วดูการเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่อย่างน้อยเป็นจำนวน 3 ครั้ง เพื่อเป็นการศึกษาให้มั่นใจว่า ลักษณะของบอนสี ที่เกิดขึ้นจากการผ่าหัวไม่แตกต่างไปจากต้นเดิม

หากทดสอบดูแล้วพบว่า ลักษณะต้นคงเดิมหลังจากผ่านการขยายพันธ์ุด้วยวิธีการผ่าหัว ก็เหมาะที่จะนำมาตั้งชื่อเป็นบอนสีสายพันธ์ุใหม่ที่เกิดจากการเพาะเมล็ด ออกสู่ตลาดเป็นการผลิตเพื่อการค้าต่อไป


โดยเพื่อน ๆ สามารถไปตั้งชื่อ และจดทะเบียนต้นบอนสีของเรา ได้ที่สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย ตามลิงก์นี้เลยจ้า

แนวทางการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบอนสีกับสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย


Writer

ปองกานต์ สูตรอนันต์

Photographer

ทีมงาน RSPG