RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

ภาษา

ภาษาท้องถิ่น

ภาษาซัมเร



ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาซัมเรในประเทศไทยประมาณ 50 คน โดยผู้รู้ภาษาดีมีไม่เกิน 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี เนื่องจากผู้พูดภาษาซัมเรเป็นบุคคลทวิภาษาคือพูดภาษาซัมเรและภาษาไทย ทั้งยังใช้ภาษาไทยมากกว่าภาษาของตนเอง เพราะอยู่ร่วมกับคนไทยอื่นๆ ในท้องถิ่น ภาษาของตนจะใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่พูดได้เท่านั้น

ภาพประกอบ

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

ภาษาซัมเรเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร กลุ่มย่อยเปียริก เช่นเดียวกับภาษาชองและกะซองทั้งสามภาษานี้มีความใกล้เคียงกันแต่ก็มีความแตกต่างในลักษณะทางภาษาซึ่งเจ้าของภาษารู้สึกถึงความแตกต่างอาทิเช่นคำศัพท์ภาษาซัมเรมีพยัญชนะต้น 21 หน่วยเสียง และพยัญชนะท้าย 13 หน่วยเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้ตัวสะกด จ ญ และ ฮ ที่แสดงลักษณะภาษาของกลุ่มมอญ-เขมรอย่างชัดเจน ปัจจุบันภาษาซัมเรเปลี่ยนแปลงไปเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ใช้ระดับเสียงเป็นลักษณะเด่นในการแยกความหมายของคำซึ่งแตกต่างไปจากภาษาชองและกะซอง (สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และพรสวรรค์ พลอยแก้ว 2548: 14-16) เช่น ซวง = รำ ซ่วง = ดม ซ้วง = บอก เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้พูดภาษาซัมเรยังมีลักษณะน้ำเสียงผสมผสานที่แสดงลักษณะดั้งเดิมของภาษากลุ่มมอญ-เขมร ทำให้เกิดเสียงที่ผู้ฟังรับรู้ถึงลักษณะเสียง เช่น เสียงทุ้ม เสียงต่ำหรือเสียงหนัก เสียงพ่นลม เป็นต้น
ควบคู่ไปกับระดับเสียงหรือวรรณยุกต์ การเรียงคำในประโยคมีลักษณะแบบ ประธาน-กริยา-กรรม (SVO) เช่น ฮวบ กล็อง ฮือ นาน <กิน-ข้าว-หรือ-ยัง> = กินข้าวหรือยัง จีว ติฮ นี่ ยิบ <ไป-ที่-ไหน-มา> = ไปไหนมา โป่ ญ้าย ปะซาจัมปี อีน น่าด <แก-พูด-ภาษา-อะไร-ได้-บ้าง> = คุณพูดภาษาอะไรได้บ้าง เว่ย คีน ต่อปี <ตี-ลูก-ทำไม> = ตีลูกทำไมวิถีชีวิตของกลุ่มซัมเรไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก แม้ว่าจะเป็นคนพื้นถิ่นที่อยู่มาช้านานในเขตแดน จังหวัดตราดและมีสัญชาติไทยกันทุกคน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้นค่อนข้างทุรกันดารห่างไกลและยังเป็นเขตชายแดนคนซัมเรดำรงชีวิตด้วยการหาอาหารจากธรรมชาติรอบตัวและเก็บของป่า เช่น หน่อไม้ หวาย สัตว์ป่า และสมุนไพรต่างๆ ไปขาย บางครอบครัวที่มีที่ดินทำกินก็จะทำไร่สับปะรด ปลูกมันสำปะหลัง ผลไม้ยืนต้นปลูกข้าวไว้กินเองและขายบ้าง บ้างก็หาเช้ากินค่ำโดยการรับจ้างเหมือนกับคน

ภาษาซัมเรมีผู้พูดตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ที่หมู่บ้านมะม่วง บ้านนนทรีย์ และบ้านคลองโอน เขตตำบลนนทรีย์เชื่อว่าชาวซัมเรเป็นคนพื้นถิ่นแต่ดั้งเดิม อพยพมาจากบริเวณเทือกเขาบรรทัดในกัมพูชา คำว่า ซัมเร มีความหมายว่า “คน (คนทำนา)” เป็นชื่อที่ผู้พูดเรียกกลุ่มตนเองและภาษาของเขา แต่บุคคลภายนอกเรียกว่า ชอง เช่นเดียวกับกลุ่มกะซองซึ่งอยู่ในตำบลใกล้ๆ กัน ชาวบ้านเองก็ยอมรับชื่อที่คนภายนอกเรียกกลุ่มตน ไปด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นคนละกลุ่มคนละภาษากัน

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, พิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช 2557, 1, สํานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2557, หน้า 257-258.