RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่
หมวดทรัพยากรกายภาพ หิน
ชื่อทรัพยากร

หินแกรนิต (Granite)


ลักษณะเด่นและภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพประกอบขนาดใหญ่


ประเภท

หินอัคนี (Igneous Rock)


ชนิด

หินอัคนีระดับลึก (plutonic rock)

โครงสร้าง/ลักษณะเฉพาะ/ลักษณะอื่นๆ
หินแกรนิต (granite) สีขาวมีผลึกขนาดเท่ากัน (ประมาณ 0.5 - 1 cm.) มองเห็นผลึกแร่ชัดเจน และพบหินเพ็กมาไทต์ (pegmatite) ที่มีองค์ประกอบคล้ายกับหินแกรนิตแต่มีผลึกแร่ขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน แทรกตัดเข้ามาในเนื้อหินแกรนิตบางบริเวณ และบางจุดพบสายแร่ quartz ขนาดเล็กแทรกตัวเข้ามาในเนื้อหินแกรนิตด้วยเช่นกัน


สถานที่พบ
อ่างศิลาจังหวัดชลบุรี
การกระจายตัว

ในภาคตะวันออกพบกระจายตัวหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เป็นต้น และประเทศไทยพบหินแกรนิตกระจายตัวทุกภาคยกเว้นบนที่ราบสูงโคราช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหินแกรนิตที่พบในประเทศไทยวางตัวตามแนวเหนือใต้และแนวหินแกรนิตดังกล่าวยังกระจายตัวเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย


การใช้ประโยชน์

ทำครกหิน หินประดับ และหินก่อสร้างลักษณะต่างๆ

ข้อมูลอื่นๆ

หินแกรนิตเป็นหินอัคนีระดับลึกซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของแมกมาอย่างช้าๆ ใต้ผิวโลกและหลังจากนั้นหินแกรนิตถูกยกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลกในปัจจุบัน โดยหินแกรนิตมีแร่องค์ประกอบและองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่