RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่
หมวดทรัพยากรกายภาพ หิน
ชื่อทรัพยากร

หินบะซอลต์ (Basalt)


ลักษณะเด่นและภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพประกอบขนาดใหญ่


ประเภท

หินอัคนี (Igneous Rock)


ชนิด

หินอัคนีพุ (extrusive igneous rock)

โครงสร้าง/ลักษณะเฉพาะ/ลักษณะอื่นๆ
พบหินบะซอลต์ สีดำ โผล่แบบ top of the hill บนพื้นที่ราบลูกฟูก เนื้อหินเป็นแบบ Aphanitic และพบหินแปลกปลอมของหิน dunite ฝังตัวอยู่ในเนื้อหิน และพบรอยแตก 3 แนว columnar basalt ลักษณะเป็นเสาหกเหลี่ยม


สถานที่พบ
วัดเมืองเก่าแสนตุ่มจังหวัดตราด
การกระจายตัว

ภูเขาไฟหินบะซอลต์ กระจายตัวอยู่บางบริเวณของประเทศไทย เช่น จ. ตราด จ.จันทบุรี จ.ลำปาง จ.บุรีรัมย์ จ.กาญจนบุรี เป็นต้น


การใช้ประโยชน์

วัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง

ข้อมูลอื่นๆ

Columnar basalt คือหินบะซอลต์ที่มีลักษณะเป็นแท่งเสาหกเหลี่ยม เกิดจากกระบวนการไหลของลาวาชนิดเมฟิค ที่หลากเป็นเนินสลับไปมา และเกิดการเย็นตัวกลายเป็นหิน หลังจากนั้นหินพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศ เมื่อเย็นตัวจะเกิดการหดตัวกลับและเกิดการแตกเป็นระบบในเนื้อหิน บริเวณหน้าตัดของหิน จะมีลักษณะ 4-8 เหลี่ยมลึกลงไปจากผิวด้านบน