RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่
หมวดทรัพยากรกายภาพ หิน
ชื่อทรัพยากร

หินแกรนิต (Granite)


ลักษณะเด่นและภาพประกอบ

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพประกอบขนาดใหญ่


ประเภท

หินอัคนี (Igneous Rock)


ชนิด

หินอัคนีระดับลึก (plutonic rock)

โครงสร้าง/ลักษณะเฉพาะ/ลักษณะอื่นๆ
ในบริเวณนี้พบหินโผล่ที่เกิดเองตามธรรมชาติ (natural outcrop) ลักษณะเป็นกองหินหรือโขดหินเป็นลานหินเลียบชาดหาด (along the beach) หินแกรนิต (granite) สีขาวมีผลึกหยาบ (phaneritic texture) ขนาดประมาณ 1 mm. และบางจุดพบสายแร่ quartz ขนาดเล็กแทรกตัวเข้ามาในเนื้อหินแกรนิตด้วยเช่นกัน พบกระบวนการผุพังทางเคมีของพื้นผิวชั้นนอก และเกิดแนวรอยแตกเป็นระบบ (joint set) 2 แนว


สถานที่พบ
ลานหินขาว หาดแม่รำพึงจังหวัดระยอง
การกระจายตัว

หินแกรนิตในภาคตะวันออกพบกระจายตัวหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เป็นต้น และประเทศไทยพบหินแกรนิตกระจายตัวทุกภาคยกเว้นบนที่ราบสูงโคราช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหินแกรนิตที่พบในประเทศไทยวางตัวตามแนวเหนือใต้และแนวหินแกรนิตดังกล่าวยังกระจายตัวเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย ในบริเวณนี้คาดว่าเป็นหินแกรนิตที่วางตัวต่อเนื่องมาจากหินอัคนีเขายายดา


การใช้ประโยชน์

ทำครกหิน, หินประดับ, และหินก่อสร้าง

ข้อมูลอื่นๆ

แนวแตก (joint) จะหมายถึง รอยแตกในหินที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบของรอยแตกนั้น แนวแตกมักมีระยะห่างสม่ำเสมอกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกลศาสตร์ของหินหนึ่งๆ โดยทั่วไปแนวแตกจะเกิดเป็นชุดๆ โดยชุดหนึ่งๆจะประกอบด้วยรอยแตกหลายแนวที่ขนานกันไป แนวแตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในหินแข็งเกิดจากถูกดึงออกด้วยแรงที่มากเกินจุดแตกหักของหินที่มีคุณสมบัติแกร่งและเปราะ การแตกของหินจะเกิดเป็นแนวระนาบขนานไปกับแนวความเค้นหลักสูงสุดและจะตั้งฉากกับแนวความเค้นต่ำสุด (ทิศทางที่หินแตกออก) ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นชุดของแนวแตกชุดหนึ่งๆที่มีทิศทางขนานกันไป