RSPG-สถานีบูรพา เป็นเว็บแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลภายใต้ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-ม.บูรพา ที่รวบรวมข้อมูลทรัพยากรในภาคตะวันออกของไทย เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถอ้างอิงบทความวิจัยได้ ที่นี่

ขี้สูด เพื่อนตัวจิ๋วกับภาระกิจเพื่อชาวสวน

คุณกำลังอ่าน
ขี้สูด เพื่อนตัวจิ๋วกับภาระกิจเพื่อชาวสวน

เผยแพร่ : 20/2/2567

จำนวนผู้เข้าชม : 195

ขี้สูด คือผึ้งขนาดเล็ก หรือที่เรียกทั่วไปว่าชันโรง (stingless bee) จัดอยู่ใน อันดับ Hymenoptera วงศ์เดียวกับผึ้ง (Family Apidae) แยกเป็นวงศ์ย่อย Meliponinae


ชันโรงแตกต่างจากผึ้งปกติอย่างไร ?

ชันโรงแตกต่างจากผึ้งที่ตัวเล็กกว่า และไม่มีเหล็กใน แต่น้องยังมีอาวุธประจำกายคือฟันกรามที่แข็งแรงใช้กัดศัตรูได้ แต่ไม่ถึงกับทำให้มนุษย์ตัวโตโตอย่างเราเจ็บปวดหรือได้รับบาดเจ็บเท่ากับโดนผึ้งต่อย

แต่ละท้องถิ่นอาจมีชื่อเรียกชันโรงแตกต่างกันไป ได้แก่ ขี้สูด ชำมะโรง อีโลม ติ้ง ตัวตุ้งติ้ง ขี้ตังนี อุง หรือ ผึ้งจิ๋ว พบได้ทุกภาคทั่วประเทศ โดยมีประมาณ 32 ชนิด รังของชันโรงมักพบตามช่องว่างที่ปลอดภัย เช่น รอยแตกตามชายคาบ้าน โพรงต้นไม้ หรือตามพื้นดิน

ข้อดีของการผสมเกสรดอกไม้ด้วยชันโรง

ชันโรงมีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสรให้แก่พืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น มะม่วง ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน เงาะ มังคุด และส้ม เป็นต้น 

ข้อดีของการผสมเกสรด้วยชันโรง จะสืบเนื่องจากการเป็นแมลงขนาดเล็กของมัน ทำให้การลงเกาะค่อนข้างนิ่มนวล ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ดอกไม้ อีกทั้งยังมีพฤติกรรมไม่เลือกดอกไม้ที่เป็นอาหารเหมือนผึ้ง ทำให้ชันโรงเก็บเกสรพืชได้มากชนิดกว่าผึ้ง ส่งผลให้น้ำหวานที่ได้จากชันโรงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งทั่วไป

ขี้สูด (ชันโรง) กินน้ำต้อยจากดอกแก้ว
ขี้สูด (ชันโรง) กินน้ำต้อยจากดอกแคป่า

เกษตรกรที่นำชันโรงมาเลี้ยงมีรายได้จากการขายน้ำผึ้งชันโรง ถึงกิโลกรัมละ ประมาณ 1,500 – 2,000 บาท ซึ่งแพงกว่าน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งมาก (กิโลกรัมละ ประมาณ 150 – 600 บาท)


ต่อจากนี้น้อง ๆ ลองสังเกตดูรอบ ๆ บ้าน หรือในสวนดอกไม้ในบ้านยามเช้า ๆ หากพบน้องขี้สูด อย่าไล่น้องไปไหน เพราะน้องมีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก


แหล่งที่มา

1. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงองค์การมหาชน.  2563. ขันโรง “ขี้ตังนี” แมลงจิ๋วรายได้งาม.  แหล่งที่มา: https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/100, 19 กุมภาพันธ์ 2567
2. อัญชลี สวาสดิ์ธรรม.  2556.  มหัศจรรย์ชันโรง.  บริษัททริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด, กรุงเทพฯ.
3. Seng, N.W., J. Mohd-Azlan and  W. S. YENG. 2020.   Floral biology and pollination strategy 
of Durio (Malvaceae) in Sarawak, Malaysian Borneo.  Biodiversitas, 21(12): 
5579-5594.

Photographer

ทีมงาน RSPG